http://midnightuniv.org/midarticle/newpage5.html. ได้รวบรวมวิธีการของโสเครติส
(Socratic Method) คือ คือการสอนแบบใช้คำถามนำเป็นชุด
ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้ได้และคำถามต้องเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว
ส่วนประกอบที่สำคัญ มีสองส่วนคือ การเหน็บแนม (irony), และการซักถามที่เป็นการสืบสวน (maieutics) โดยทั่วไปแล้ว กระบวนการดังกล่าวมีลักษณะเป็นดังต่อไปนี้:
- อันดับแรก โสเครติสจะยกคำถามขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น
"อะไรคือความยุติธรรม?" เมื่อเขากล่าวออกมาเช่นนั้น
เป็นเพราะตัวเขาเองไม่รู้ว่าความยุติธรรมมันเป็นอย่างไรกันแน่ (อันนี้คือ
การไม่รู้ของโสเครติส - Socratic ignorance), เขาจะถามนักเรียนของเขาถึงสิ่งที่พวกเขาคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม
- บรรดานักเรียนทั้งหลาย
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกโซฟิสท์จะตอบคำถามไปตามวิธีการของพวกโซฟิสท์
โดยอ้างอิงตัวอย่างต่างๆมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
"เทพเจ้าซีอุสคือความยุติธรรม"; "เทพเจ้าต่างๆล้วนคือความยุติธรรม"
ฯลฯ. (อันนี้ยกเป็นตัวอย่าง). "โอ้, จำนวนความยุติธรรม!"
โสเครติสร้องทัก. "ฉันถามว่าอะไรคือความยุติธรรม
แต่พวกเธอกลับตอบฉันถึงความยุติธรรมจำนวนมาก"
- ด้วยเหตุนี้ เขาได้ผ่านไปสู่การวิจารณ์ (เหน็บแนม)
เกี่ยวกับตัวอย่างต่างๆที่อ้างขึ้นมา โดยการที่เขามีความชัดเจนต่อความคิดต่างๆที่มีอคติของบรรดาสานุศิษย์ของเขา
และความคิดที่ผิดพลาดเกี่ยวกับคำถามที่นำมาถาม
- จากการใช้วิธีการเหน็บแนม (irony) เขาจะผ่านไปสู่การตั้งคำถามในเชิงสืบสวน (maieutics) - ศิลปะซึ่งโสเครติสใช้พูด
เขาได้เรียนรู้มาจากแม่ของเขา ซึ่งเธอได้ช่วยเหลือในส่วนของร่างกาย
ส่วนเขาได้ทำในส่วนที่เกี่ยวกับจิตวิญญานให้สมบูรณ์ขึ้น. (คำว่า Maieutics นี้ได้รับการสืบทอดมาจากคำศัพท์ภาษากรีก" maieutikos," ซึ่งเป็นเรื่องของการผดุงครรภ์
หรือการคลอด). วิธีการตั้งคำถามในเชิงสืบสวน(Maieutic) เป็นวิถีทางของโสเครติสในการทำให้ความคิดต่างๆที่แฝงเร้นอยู่ในจิตใจได้เผยตัวหรือคลอดออกมา
- การตั้งคำถามแบบสืบค้นเป็นส่วนของข้อสรุปของการสนทนา
ซึ่งโสเครติสพยายามที่จะทำให้สานุศิษย์ของเขามองเห็นว่ามันเป็นอย่างไร
โดยการสะท้อนความคิดและการไตร่ตรองตัวของพวกเขาเอง พวกเขาสามารถสังเกตเห็นการมีอยู่ของธาตุแท้บางอย่างที่มีอยู่ร่วมกัน
และจำเป็นต่อความยุติธรรมทั้งหมด (แนวความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม)
- ธาตุแท้เหล่านั้นมีลักษณะที่เป็นรูปธรรมในการนิยาม
ซึ่งสรุปได้ด้วยคำต่างๆเพียงไม่กี่คำที่เป็นคุณลักษณ์เฉพาะที่ถูกวินิจฉัยว่า
จำเป็นต่อแนวความคิดเกี่ยวกับคำถามที่ยกขึ้นมา
ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่า
การสนทนาของโสเครติสไม่ได้ประสบผลสำเร็จในการนิยาม
หรือทำให้นิยามความหมายมีความคงที่เสมอไป. ในหลายๆกรณี สิ่งที่เรียกว่า
การไม่รู้ของโสเครติส(Socratic ignorance) ซึ่งโสเครติสได้สารภาพออกมานับจากเริ่มต้นของการตั้งคำถาม
ไม่ใช่การโกหก. ดังนั้นการสนทนาจึงเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง
กระทำโดยการช่วยเหลือของนักเรียนทั้งหลายเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
ถ้าเป็นไปได้ว่า มันก็จะนำพาไปสู่แนวความคิดหนึ่งได้ -
นั่นคือความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับคำถามที่เสนอขึ้นมา
http://operationkm.blogspot.com/2013/10/socratic-method.html. ได้รวบรวมSocratic method เป็นวิธีการเรียนการสอนที่มีมาตั้งแต่สมัยกรีก
โดยเรียกขื่อตาม โสเครติส นักปรัชญาชาวกรีก วิธีสอนแบบโสเครติสเป็นการสอนและการเรียนรู้ที่ให้ผู้สอนและผู้เรียนใช้เหตุผลในการสืบค้นร่วมกัน
โดยวิธีถาม ถามไปเรื่อยจนสามารถตะล่อมให้คนเรียนรู้และเข้าใจในบทเรียนได้
คำถามจะเป็นการยั่วให้คิด กระตุ้นให้ใช้เหตุผล ใช้ตรรกะ
ในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ปฎิบัติ (แต่การสอนแบบนี้ผู้เขียนเองไม่แน่ใจว่าจะนำมาใช้ได้ในบ้านเราหรือเปล่า
เพราะส่วนใหญ่ตอนเป็นเด็กเราเคยได้รับการสั่งสอนว่า ให้ฟังผู้ใหญ่อย่าเถียงหรือถาม
จนมีสุภาษิตที่ว่า เดินตามผู้ใหญ่ หมาไม่กัด
เราจึงไม่ค่อยจะได้ฝึกการแสดงความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาสักเท่าไร
อย่างไรก็ตามสมัยปัจจุบัน เด็กรุ่นใหม่ๆกล้าแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออกมากขึ้น
ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี)
การสอนแบบ
โสเครติส (Socratic)
สามารถนำมาใช้การสอนและการเรียนรู้ในองค์กรได้เช่นเดียวกัน
เพื่อให้พนักงานมีความเข้าใจและสามารถเรียนรู้ได้จากการแสดงความคิดเห็นและโต้ตอบกับผู้สอนเพื่อสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยมีผู้สอนเป็นคนแนะนำ
เมื่อเกิดการเรียนรู้ ก็เกิดความเข้าใจความสำคัญในงาน ในหน้าที่
ก็จะส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
http://www.learners.in.th/blogs/posts/258713.ได้รวบรวมวิธีการของโสคราตีส ( Socratic Method )
วิธีการของโสคราตีสคือศิลปะการสนทนาที่โสคราตีสใช้ในการสนทนาเพื่อให้การสนทนาดำเนินไปสู่คำตอบของปัญหาที่กำลังอภิปรายกัน วิธีนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า วิภาษวิธี ( Dialectic ) ซึ่งมีลักษณะ ๕ ประการคือ
๑.สงสัย โสคราตีสเริ่มต้นการสนทนาด้วยการยกย่องคู่สนทนาว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ท่านเองก็ใคร่รู้อยู่พอดี เนื่องจากท่านไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ท่านจึงขอให้เขาตอบคำถามของท่านเกี่ยวกับเรื่องนั้น การออกตัวทำนองนี้ถือกันว่าเป็นการถ่อมตัวของนักปรัชญา
๒.สนทนา จากนั้นโสคราตีสก็เป็นฝ่ายตั้งปัญหาให้คู่สนทนาตอบ การสนทนาจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับเทศน์ปุจฉา-วิสัชนา คู่สนทนาจะต้องหาคำจำกัดความของหัวข้อที่สนทนากัน โสคราตีสจะวิจารณ์ว่า คำจำกัดความนั้นมีข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง อีกฝ่ายหนึ่งจะเสนอคำจำกัดความใหม่ที่ดูรัดกุมกว่า โสคราตีสจะขัดเกลาคำจำกัดความนั้นอีก การสนทนาจะดำเนินไปอย่างนี้ จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะได้คำจำกัดความที่น่าพอใจ
๓.หาคำจำกัดความ จุดมุ่งหมายของการสนทนาจึงอยู่ที่การหาคำจำกัดความที่ถูกต้อง โสคราตีสเชื่อว่า ถ้าเราพบคำจำกัดความที่ถูกต้องของสิ่งใด นั่นแสดงว่าเราพบความจริงแท้เกี่ยวกับสิ่งนั้น ซึ่งเป็นอันเดียวกับการค้นพบมโนภาพของสิ่งนั้นนั่นเอง
๔.อุปนัย การสร้างคำจำกัดความจะเริ่มจากสิ่งเฉพาะไปสู่สิ่งสากล เช่น เมื่อหาคำจำกัดความของคำว่า สิทธิ โสคราตีสและคู่สนทนาจะพิจารณาตัวอย่างจากสิทธิต่างๆ ในสังคมแล้วดึงเอาลักษณะที่เป็นแก่นหรือที่เป็นสากลมาสร้างเป็นคำนิยาม
๕.นิรนัย คำจำกัดความที่มีผู้เสนอมาจะถูกพิสูจน์โดยการนำไปเป็นมาตรการวัดสิ่งเฉพาะต่างๆ ว่ามีลักษณะร่วมกับลักษณะที่ระบุไว้ในคำจำกัดความนั้นหรือไม่ เช่น ถ้าเราได้คำจำกัดความของ สิทธิ มาเราก็ต้องตรวจสอบดูว่า กรรมสิทธิ์ ถือเป็นสิทธิตามคำจำกัดความที่เราตั้งไว้หรือไม่เพียงใด
จะเห็นได้ว่าวิธีการของโสคราตีสนั้นมีสิ่งที่สำคัญคือการถาม-ตอบ ซึ่งการถาม-ตอบเพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายคือการพัฒนาความรู้ได้นั้นก็ต้องอาศัยวิธีการตั้งคำถามที่มีประสิทธิภาพ ไม่ถามอย่างไร้เหตุผล ดังนั้นคำถามจึงเป็นส่วนที่สำคัญมากในวิธีการของโสคราตีส
คำถามแบบโสคราตีส ( Socratic Questioning )
คำถามแบบโสคราตีส คือ ระเบียบวิธีการตั้งคำถามสำหรับใช้ในการค้นหาความคิดในหลายๆ ทิศทางเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพื่อค้นหาความจริงสากล เพื่อค้นหาความคิดที่ซับซ้อน เพื่อเปิดประเด็นปัญหา เพื่อเปิดเผยสมมุติฐาน เพื่อวิเคราะห์แนวคิด เพื่อจำแนกสิ่งต่างๆ หรือเพื่อประยุกต์ความคิดอย่างมีตรรกะ ลักษณะของคำถามแบบโสคราตีสคือ เป็นคำถามที่เป็นระบบ มีระเบียบวิธีที่ชัดเจน มีความลึกและปกติจะพุ่งจุดศูนย์รวมไปที่แนวคิดพื้นฐาน หลักการ ทฤษฎี ประเด็นปัญหา หรือตัวปัญหา
คำถามแบบโสคราตีสมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาความคิด ดังนั้นจึงมีประโยชน์ในการเรียนการสอน ซึ่งในการเรียนการสอนนั้นสามารถใช้คำถามแบบโสคราตีสเพื่อวัตถุประสงค์อย่างน้อย ๒ ประการคือ
๑.เพื่อเจาะลึกเข้าไปในความคิดของนิสิตนักศึกษา เพื่อช่วยให้นิสิตนักศึกษาสามารถแยกแยะสิ่งที่ตนรู้หรือเข้าใจออกจากสิ่งที่ตนไม่รู้หรือไม่เข้าใจ
๒.เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการใช้คำถามแบบโสกราตีสให้แก่นิสิตนักศึกษา ให้นำมาใช้เป็นเครื่องมือหลักในการถกเถียงแบบโสกราตีส ( Socratic dialogue ) ได้ ทั้งนี้เพื่อให้นิสิตนักศึกษาใช้เครื่องมือนี้ได้ในชีวิตประจำวัน ( สำหรับการถามตนเองและถามผู้อื่น )
วิธีการของโสคราตีสคือศิลปะการสนทนาที่โสคราตีสใช้ในการสนทนาเพื่อให้การสนทนาดำเนินไปสู่คำตอบของปัญหาที่กำลังอภิปรายกัน วิธีนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า วิภาษวิธี ( Dialectic ) ซึ่งมีลักษณะ ๕ ประการคือ
๑.สงสัย โสคราตีสเริ่มต้นการสนทนาด้วยการยกย่องคู่สนทนาว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ท่านเองก็ใคร่รู้อยู่พอดี เนื่องจากท่านไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ท่านจึงขอให้เขาตอบคำถามของท่านเกี่ยวกับเรื่องนั้น การออกตัวทำนองนี้ถือกันว่าเป็นการถ่อมตัวของนักปรัชญา
๒.สนทนา จากนั้นโสคราตีสก็เป็นฝ่ายตั้งปัญหาให้คู่สนทนาตอบ การสนทนาจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับเทศน์ปุจฉา-วิสัชนา คู่สนทนาจะต้องหาคำจำกัดความของหัวข้อที่สนทนากัน โสคราตีสจะวิจารณ์ว่า คำจำกัดความนั้นมีข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง อีกฝ่ายหนึ่งจะเสนอคำจำกัดความใหม่ที่ดูรัดกุมกว่า โสคราตีสจะขัดเกลาคำจำกัดความนั้นอีก การสนทนาจะดำเนินไปอย่างนี้ จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะได้คำจำกัดความที่น่าพอใจ
๓.หาคำจำกัดความ จุดมุ่งหมายของการสนทนาจึงอยู่ที่การหาคำจำกัดความที่ถูกต้อง โสคราตีสเชื่อว่า ถ้าเราพบคำจำกัดความที่ถูกต้องของสิ่งใด นั่นแสดงว่าเราพบความจริงแท้เกี่ยวกับสิ่งนั้น ซึ่งเป็นอันเดียวกับการค้นพบมโนภาพของสิ่งนั้นนั่นเอง
๔.อุปนัย การสร้างคำจำกัดความจะเริ่มจากสิ่งเฉพาะไปสู่สิ่งสากล เช่น เมื่อหาคำจำกัดความของคำว่า สิทธิ โสคราตีสและคู่สนทนาจะพิจารณาตัวอย่างจากสิทธิต่างๆ ในสังคมแล้วดึงเอาลักษณะที่เป็นแก่นหรือที่เป็นสากลมาสร้างเป็นคำนิยาม
๕.นิรนัย คำจำกัดความที่มีผู้เสนอมาจะถูกพิสูจน์โดยการนำไปเป็นมาตรการวัดสิ่งเฉพาะต่างๆ ว่ามีลักษณะร่วมกับลักษณะที่ระบุไว้ในคำจำกัดความนั้นหรือไม่ เช่น ถ้าเราได้คำจำกัดความของ สิทธิ มาเราก็ต้องตรวจสอบดูว่า กรรมสิทธิ์ ถือเป็นสิทธิตามคำจำกัดความที่เราตั้งไว้หรือไม่เพียงใด
จะเห็นได้ว่าวิธีการของโสคราตีสนั้นมีสิ่งที่สำคัญคือการถาม-ตอบ ซึ่งการถาม-ตอบเพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายคือการพัฒนาความรู้ได้นั้นก็ต้องอาศัยวิธีการตั้งคำถามที่มีประสิทธิภาพ ไม่ถามอย่างไร้เหตุผล ดังนั้นคำถามจึงเป็นส่วนที่สำคัญมากในวิธีการของโสคราตีส
คำถามแบบโสคราตีส ( Socratic Questioning )
คำถามแบบโสคราตีส คือ ระเบียบวิธีการตั้งคำถามสำหรับใช้ในการค้นหาความคิดในหลายๆ ทิศทางเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพื่อค้นหาความจริงสากล เพื่อค้นหาความคิดที่ซับซ้อน เพื่อเปิดประเด็นปัญหา เพื่อเปิดเผยสมมุติฐาน เพื่อวิเคราะห์แนวคิด เพื่อจำแนกสิ่งต่างๆ หรือเพื่อประยุกต์ความคิดอย่างมีตรรกะ ลักษณะของคำถามแบบโสคราตีสคือ เป็นคำถามที่เป็นระบบ มีระเบียบวิธีที่ชัดเจน มีความลึกและปกติจะพุ่งจุดศูนย์รวมไปที่แนวคิดพื้นฐาน หลักการ ทฤษฎี ประเด็นปัญหา หรือตัวปัญหา
คำถามแบบโสคราตีสมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาความคิด ดังนั้นจึงมีประโยชน์ในการเรียนการสอน ซึ่งในการเรียนการสอนนั้นสามารถใช้คำถามแบบโสคราตีสเพื่อวัตถุประสงค์อย่างน้อย ๒ ประการคือ
๑.เพื่อเจาะลึกเข้าไปในความคิดของนิสิตนักศึกษา เพื่อช่วยให้นิสิตนักศึกษาสามารถแยกแยะสิ่งที่ตนรู้หรือเข้าใจออกจากสิ่งที่ตนไม่รู้หรือไม่เข้าใจ
๒.เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการใช้คำถามแบบโสกราตีสให้แก่นิสิตนักศึกษา ให้นำมาใช้เป็นเครื่องมือหลักในการถกเถียงแบบโสกราตีส ( Socratic dialogue ) ได้ ทั้งนี้เพื่อให้นิสิตนักศึกษาใช้เครื่องมือนี้ได้ในชีวิตประจำวัน ( สำหรับการถามตนเองและถามผู้อื่น )
สรุปได้ว่า
การสอนแบบใช้คำถามนำเป็นชุด
หรือการตะลอมถามนั้นเอง คำถามจะเป็นการยั่วให้คิด
กระตุ้นให้ใช้เหตุผล ใช้ตรรกะ สามารถนำมาใช้การสอนและการเรียนรู้ในองค์กรได้เช่นเดียวกัน
เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจและสามารถเรียนรู้ได้จากการแสดงความคิดเห็นและโต้ตอบกับผู้สอนเพื่อสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยมีผู้สอนเป็นคนแนะนำ
เมื่อเกิดการเรียนรู้ ก็เกิดความเข้าใจความสำคัญในงาน ในหน้าที่ ก็จะส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
วิธีการของโสคราตีส คือ ศิลปะการสนทนาที่โสคราตีสใช้ในการสนทนาเพื่อให้การสนทนาดำเนินไปสู่คำตอบของปัญหาที่กำลังอภิปรายกัน
วิธีนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า วิภาษวิธี ( Dialectic ) ซึ่งมีลักษณะ 5 ประการคือ 1.สงสัย โสคราตีสเริ่มต้นการสนทนาด้วยการยกย่องคู่สนทนาว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ท่านเองก็ใคร่รู้อยู่พอดี
เนื่องจากท่านไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ท่านจึงขอให้เขาตอบคำถามของท่านเกี่ยวกับเรื่องนั้น
การออกตัวทำนองนี้ถือกันว่าเป็นการถ่อมตัวของนักปรัชญา
2.สนทนา จากนั้นโสคราตีสก็เป็นฝ่ายตั้งปัญหาให้คู่สนทนาตอบ การสนทนาจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับเทศน์ปุจฉา-วิสัชนา คู่สนทนาจะต้องหาคำจำกัดความของหัวข้อที่สนทนากัน โสคราตีสจะวิจารณ์ว่า คำจำกัดความนั้นมีข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง อีกฝ่ายหนึ่งจะเสนอคำจำกัดความใหม่ที่ดูรัดกุมกว่า โสคราตีสจะขัดเกลาคำจำกัดความนั้นอีก การสนทนาจะดำเนินไปอย่างนี้ จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะได้คำจำกัดความที่น่าพอใจ
3.หาคำจำกัดความ จุดมุ่งหมายของการสนทนาจึงอยู่ที่การหาคำจำกัดความที่ถูกต้อง โสคราตีสเชื่อว่า ถ้าเราพบคำจำกัดความที่ถูกต้องของสิ่งใด นั่นแสดงว่าเราพบความจริงแท้เกี่ยวกับสิ่งนั้น ซึ่งเป็นอันเดียวกับการค้นพบมโนภาพของสิ่งนั้นนั่นเอง
4.อุปนัย การสร้างคำจำกัดความจะเริ่มจากสิ่งเฉพาะไปสู่สิ่งสากล เช่น เมื่อหาคำจำกัดความของคำว่า สิทธิ โสคราตีสและคู่สนทนาจะพิจารณาตัวอย่างจากสิทธิต่างๆ ในสังคมแล้วดึงเอาลักษณะที่เป็นแก่นหรือที่เป็นสากลมาสร้างเป็นคำนิยาม
5. นิรนัย คำจำกัดความที่มีผู้เสนอมาจะถูกพิสูจน์โดยการนำไปเป็นมาตรการวัดสิ่งเฉพาะต่างๆ ว่ามีลักษณะร่วมกับลักษณะที่ระบุไว้ในคำจำกัดความนั้นหรือไม่ เช่น ถ้าเราได้คำจำกัดความของ สิทธิ มาเราก็ต้องตรวจสอบดูว่า กรรมสิทธิ์ ถือเป็นสิทธิตามคำจำกัดความที่เราตั้งไว้หรือไม่เพียงใด
2.สนทนา จากนั้นโสคราตีสก็เป็นฝ่ายตั้งปัญหาให้คู่สนทนาตอบ การสนทนาจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับเทศน์ปุจฉา-วิสัชนา คู่สนทนาจะต้องหาคำจำกัดความของหัวข้อที่สนทนากัน โสคราตีสจะวิจารณ์ว่า คำจำกัดความนั้นมีข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง อีกฝ่ายหนึ่งจะเสนอคำจำกัดความใหม่ที่ดูรัดกุมกว่า โสคราตีสจะขัดเกลาคำจำกัดความนั้นอีก การสนทนาจะดำเนินไปอย่างนี้ จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะได้คำจำกัดความที่น่าพอใจ
3.หาคำจำกัดความ จุดมุ่งหมายของการสนทนาจึงอยู่ที่การหาคำจำกัดความที่ถูกต้อง โสคราตีสเชื่อว่า ถ้าเราพบคำจำกัดความที่ถูกต้องของสิ่งใด นั่นแสดงว่าเราพบความจริงแท้เกี่ยวกับสิ่งนั้น ซึ่งเป็นอันเดียวกับการค้นพบมโนภาพของสิ่งนั้นนั่นเอง
4.อุปนัย การสร้างคำจำกัดความจะเริ่มจากสิ่งเฉพาะไปสู่สิ่งสากล เช่น เมื่อหาคำจำกัดความของคำว่า สิทธิ โสคราตีสและคู่สนทนาจะพิจารณาตัวอย่างจากสิทธิต่างๆ ในสังคมแล้วดึงเอาลักษณะที่เป็นแก่นหรือที่เป็นสากลมาสร้างเป็นคำนิยาม
5. นิรนัย คำจำกัดความที่มีผู้เสนอมาจะถูกพิสูจน์โดยการนำไปเป็นมาตรการวัดสิ่งเฉพาะต่างๆ ว่ามีลักษณะร่วมกับลักษณะที่ระบุไว้ในคำจำกัดความนั้นหรือไม่ เช่น ถ้าเราได้คำจำกัดความของ สิทธิ มาเราก็ต้องตรวจสอบดูว่า กรรมสิทธิ์ ถือเป็นสิทธิตามคำจำกัดความที่เราตั้งไว้หรือไม่เพียงใด
คำถามแบบโสคราตีส
คือ ระเบียบวิธีการตั้งคำถามสำหรับใช้ในการค้นหาความคิดในหลายๆ ทิศทางเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ
เช่น เพื่อค้นหาความจริงสากล เพื่อค้นหาความคิดที่ซับซ้อน เพื่อเปิดประเด็นปัญหา
เพื่อเปิดเผยสมมุติฐาน เพื่อวิเคราะห์แนวคิด เพื่อจำแนกสิ่งต่างๆ หรือเพื่อประยุกต์ความคิดอย่างมีตรรกะ
ลักษณะของคำถามแบบโสคราตีสคือ เป็นคำถามที่เป็นระบบ มีระเบียบวิธีที่ชัดเจน มีความลึกและปกติจะพุ่งจุดศูนย์รวมไปที่แนวคิดพื้นฐาน
หลักการ ทฤษฎี ประเด็นปัญหา หรือตัวปัญหา
คำถามแบบโสคราตีสมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาความคิด ดังนั้นจึงมีประโยชน์ในการเรียนการสอน ซึ่งในการเรียนการสอนนั้นสามารถใช้คำถามแบบโสคราตีสเพื่อวัตถุประสงค์อย่างน้อย 2 ประการคือ
1. เพื่อเจาะลึกเข้าไปในความคิดของนิสิตนักศึกษา เพื่อช่วยให้นิสิตนักศึกษาสามารถแยกแยะสิ่งที่ตนรู้หรือเข้าใจออกจากสิ่งที่ตนไม่รู้หรือไม่เข้าใจ
2. เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการใช้คำถามแบบโสกราตีสให้แก่นิสิตนักศึกษา ให้นำมาใช้เป็นเครื่องมือหลักในการถกเถียงแบบโสกราตีส ( Socratic dialogue ) ได้ ทั้งนี้เพื่อให้นิสิตนักศึกษาใช้เครื่องมือนี้ได้ในชีวิตประจำวัน ( สำหรับการถามตนเองและถามผู้อื่น )
คำถามแบบโสคราตีสมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาความคิด ดังนั้นจึงมีประโยชน์ในการเรียนการสอน ซึ่งในการเรียนการสอนนั้นสามารถใช้คำถามแบบโสคราตีสเพื่อวัตถุประสงค์อย่างน้อย 2 ประการคือ
1. เพื่อเจาะลึกเข้าไปในความคิดของนิสิตนักศึกษา เพื่อช่วยให้นิสิตนักศึกษาสามารถแยกแยะสิ่งที่ตนรู้หรือเข้าใจออกจากสิ่งที่ตนไม่รู้หรือไม่เข้าใจ
2. เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการใช้คำถามแบบโสกราตีสให้แก่นิสิตนักศึกษา ให้นำมาใช้เป็นเครื่องมือหลักในการถกเถียงแบบโสกราตีส ( Socratic dialogue ) ได้ ทั้งนี้เพื่อให้นิสิตนักศึกษาใช้เครื่องมือนี้ได้ในชีวิตประจำวัน ( สำหรับการถามตนเองและถามผู้อื่น )
ที่มา
อ้างอิง
http://midnightuniv.org/midarticle/newpage5.html. ได้รวบรวมวิธีการของโสเครติส (Socratic Method). เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558
http://midnightuniv.org/midarticle/newpage5.html. ได้รวบรวมวิธีการของโสคราตีส(Socratic Method). เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558
http://midnightuniv.org/midarticle/newpage5.html. ได้รวบรวมวิธีการของโสเครติส (Socratic Method). เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558
http://midnightuniv.org/midarticle/newpage5.html. ได้รวบรวมวิธีการของโสคราตีส(Socratic Method). เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558
http://www.learners.in.th/blogs/posts/258713.ได้รวบรวมวิธีการของโสคราตีส. เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558.