วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                 http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu. ได้รวบรวมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด  ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
ทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ ครู แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ครูยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทำความเข้าใจ  ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป
          การทบทวนบทบาทของครู ควรเริ่มจากการทบทวนและปรับแต่งความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการเรียน โดยต้องถือว่า แก่นแท้ของการเรียนคือการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องเปลี่ยนจากการยึดวิชาเป็นตัวตั้ง มาเป็นยึดมนุษย์หรือผู้เรียนเป็นตัวตั้ง หรือที่เรียกว่า ผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูต้องคำนึงถึงหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ ถ้าจะเปรียบการทำงานของครูกับแพทย์คงไม่ต่างกันมากนัก แพทย์มีหน้าที่บำบัดรักษาอาการป่วยไข้ของผู้ป่วย ด้วยการวิเคราะห์ วินิจฉัยอาการของผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน แล้วจัดการบำบัดด้วยการใช้ยาหรือการปฏิบัติอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน วิธีการรักษาแบบหนึ่งแบบใดคงจะใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยทุกคนเหมือน ๆ กันไม่ได้ นอกจากจะมีอาการป่วยแบบเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน ครูก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจและศึกษาให้รู้ข้อมูล อันเป็นความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน และหาวิธีสอนที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนนั้นให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดที่มีอยู่ และจากข้อมูลที่เป็นวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนอีกประการหนึ่ง คือ การจัดการศึกษาที่ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปฏิบัติในชีวิตจริง ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ครูจึงต้องหันมาทบทวนบทบาทและหน้าที่ที่จะต้องแก้ไข โดยต้องตระหนักว่า คุณค่าของการเรียนรู้คือการได้นำสิ่งที่เรียนรู้มานั้นไปปฏิบัติให้เกิดผลด้วย ดังนั้นหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงมีสาระที่สำคัญ 2 ประการคือ การจัดการโดยคำนึงถึงความแตกต่างของ ผู้เรียน และการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดที่แต่ละคนจะมีและเป็นได้ ส่วนเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                   http://www.sut.ac.th/tedu/news/Teaching.htm.ได้รวบรวมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า
           1.Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำหรือปฏิบัติด้วยตนเองด้วยความกระตือรือร้น เช่น ได้คิด ค้นคว้า ทดลองรายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์ แก้ปัญหา ฯลฯ ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ผู้สอนทำหน้าที่เตรียมการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ จัดสื่อสิ่งเร้าเสริมแรงให้คำปรึกษาและสรุปสาระการเรียนรู้ร่วมกัน
          2.Construct เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง อันเกิดจากการได้ศึกษาค้นคว้าทดลอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน รวมทั้งทำให้ผู้เรียนรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man) ที่พึงประสงค์
         3.Resource เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลายทั้งบุคคลและเครื่องมือทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นมนุษย์ (เช่น ชุมชน ครอบครัว องค์กรต่างๆ) ธรรมชาติและเทคโนโลยี ตามหลักการที่ว่า “การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์)”
         4.Thinking เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ เช่น คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดถูก ทางคิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล คิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดอยู่เสมอในลักษณะต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล มีวิจารณญาณ ในการคิด มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่จะเลือกรับและปฏิเสธข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถแสดงความคิดเห็นออกได้อย่างชัดเจนและมี เหตุผลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
         5.Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นความสุขที่เกิดจาก 1) ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนชอบหรือสนใจ ทำให้เกิดแรงจูงใจในการใฝ่รู้ ท้าทาย อยากค้นคว้า อยากแสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ 2) การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
         6.Participation เป็นกิจกรรมที่เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ตั้งแต่การวางแผนกำหนดงาน วางเป้าหมายร่วมกัน และมีโอกาสเลือกทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตรงกับความถนัดความสามารถ ความสนใจ ของตนเอง ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนและสามารถ ประยุกต์ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง
         7.Individualization เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนในความเป็นเอกัตบุคคล ผู้สอนต้องยอมรับในความสามารถ ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพมากกว่าเปรียบเทียบแข่งขันระหว่างกันโดยมีความเชื่อมั่นผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
         8.Good Habit เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม เช่น ความรับผิดชอบ ความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ ความขยัน ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ฯลฯ และ ลักษณะนิสัยในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับผู้อื่น และ การเห็นคุณค่าของงาน เป็นต้น
          9.Self Evaluation เป็นกิจกรรมที่เน้นการประเมินตนเอง เดิมผู้สอนเป็นผู้ประเมินฝ่ายเดียว แต่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ชัดเจนขึ้น รุ้จุดเด่นจุดด้อยและพร้อมที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การประเมินในส่วนนี้เป็นการประเมินตามสภาพจริงและอาจใช้แฟ้มสะสมผลงานช่วย
                        http://etcserv.pnru.ac.th/kmpnru/index.php.ได้รวบรวมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิด   การ จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ได้พัฒนามาอย่าง ต่อเนื่องยาวนาน และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามต้องการอย่างได้ผล (วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542)การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้ผู้เรียนมี   ความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งแนวคิดแบบผู้เรียนเป็นสำคัญจะยึดการศึกษาแบบก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนแต่ละคนมีคุณค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจ แนวทางนี้จึงเป็นแนวทางที่จะ ผลักดันผู้เรียนไปสู่การบรรลุศักยภาพของตน โดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบดั้งเดิมทั่วไป

สรุปได้ว่า 
                      การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด  ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
ทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญาวิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิด   การ จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ได้พัฒนามาอย่าง ต่อเนื่องยาวนาน

ที่มา
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcuการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
http://www.sut.ac.th/tedu/news/Teaching.htm.การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
http://etcserv.pnru.ac.th/kmpnru/index.php.การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.

ความหมายของการเรียนร่วม

                    http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177. ได้รวบรวมความหมายของการเรียนร่วมไว้ว่าการเรียนร่วมเป็นการจัดการศึกษาพิเศษรูปแบบหนึ่งที่จัดให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษและความต้องการช่วยเหลือที่แตกต่างไปจากเด็กปกติร่วมใช้ชีวิตกับเด็กปกติในระบบโรงเรียนเพื่อให้เขาพัฒนาได้เต็มศักยภาพสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้สามารถช่วยเหลือตนเองได้นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของการเรียนร่วมไว้ดังต่อไปนี้
ผดุงอารยะวิญญู (2541:7) การเรียนร่วมหมายถึงการจัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนในโรงเรียนปกติอาจจัดได้หลายลักษณะเช่นการเรียนร่วมเต็มเวลาเรียนในห้องพิเศษห้องเสริมวิชาการซึ่งให้โอกาสเด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ผดุงอารยะวิญญู (2542:17) ได้กล่าวว่าการจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกตินั้นสามารถจัดการศึกษาได้หลายหลายรูปแบบคือ
1) การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติโดยอาจจัดให้อยู่ในชั้นปกติในบางเวลาเช่นวิชาดนตรีพลศึกษาหรือร่วมกิจกรรมลูกเสือ- เนตรนารีกีฬาสีเป็นต้นคาดหวังว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะมีโอกาสแสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
2) การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) การจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้มีโอกาสได้เรียนชั้นเดียวกับเด็กปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียนเด็กปกติได้รับบริการการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนอย่างไรเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ได้รับบริการเช่นเดียวกันเป้าหมายสำคัญของการเรียนร่วมเต็มเวลาคือเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกันตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติเด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่างท่ามกลางความแตกต่างกันมนุษย์เราต้องการความรักความสนใจความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
3) การเรียนร่วม(Inclusion) หรือการจัดการศึกษาโดยรวม(Inclusive Education) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาทีโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติหรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กและจะต้องจัดการศึกษาให้เขาอย่างเหมาะสมการเรียนร่วมยังหมายถึงการศึกษาที่ไม่แบ่งแยกระดับชั้นเช่นอนุบาลประถมศึกษามัธยมศึกษาอุดมศึกษาตลอดจนการดำรงชีพของคนในสังคมหลังจบการศึกษาจะต้องดำเนินไปในลักษณะร่วมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับเด็กปกติโดยไม่มีการแบ่งแยก
ศรียานิยมธรรม(2541:37) การเรียนร่วมหมายถึงการนำเอาคนพิการมาสู่สังคมปกติไม่ว่าจะในด้านนันทนาการหรือการศึกษาในสมัยก่อนคนพิการมักถูกซุกซ่อนหรือแยกไว้เฉพาะกลุ่มต่างหากแต่ในปัจจุบันจะเน้นที่การคัดแยกเพื่อช่วยเหลือคนพิการแต่เนิ่นๆโดยมีนักวิชาการในสาขาต่างๆเข้ามาช่วยเหลือและสามารถจัดให้เด็กแต่ละคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
ผดุงอารยะวิญญู(2541: 221) การเรียนร่วมเป็นวิธีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษซึ่งเมื่อก่อนเรียกว่าเด็กพิการโดยจัดเป็นกลุ่มตามสภาพความพิการของเด็กเช่นเด็ก
ตาบอดปัญญาอ่อนเป็นต้นและจัดตั้งโรงเรียนพิเศษสำหรับแต่ละประเภทโดยเฉพาะซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจึงมีวิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กพิการเสียใหม่เด็กพิการได้รับชื่อใหม่ว่าเป็น“เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” และเด็กเหล่านี้ได้รับการเข้าเรียนในชั้นเดียวกับเด็กปกติ
กระทรวงศึกษาธิการ(2543:1) การเรียนร่วมหมายถึงวิธีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติเพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ตามรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้นให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(2543:21) ได้กล่าวถึงการเรียนร่วมไว้ดังนี้
การเรียนร่วมเต็มเวลาหมายถึงการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้มีโอกาสเรียนในชั้นเรียนเดียวกันกับเด็กปกติทุกอย่างตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียนและได้รับบริการการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเช่นเดียวกับเด็กปกติ
การเรียนร่วมบางเวลาหมายถึงการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนในโรงเรียนเดียวกันกับเด็กปกติแต่เด็กเหล่านี้อาจให้อยู่รวมกันเป็นชั้นพิเศษในโรงเรียนปกติและในบางรายวิชาที่ไม่ใช่กลุ่มทักษะเด็กมีโอกาสได้เรียนร่วมกับเด็กปกติเช่นวิชาพลศึกษาวิชาดนตรีเป็นต้นหรือเด็กอาจมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนเช่นกิจกรรมลูกเสือ- เนตรนารีกีฬาสีงานแสดงต่างๆโดยคาดหวังว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะได้มีโอกาสแสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติ
การเรียนร่วมหมายถึงการที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้เด็กทุกๆคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนเรียนร่วมเต็มเวลาในห้องเรียนตลอดจนรับบริการเสริมที่เหมาะสมและจำเป็นและการใช้ชีวิตร่วมกันกับเด็กเด็กปกติในครอบครัวชุมชนและสังคม
ข้าพเจ้านางสาวกาญจนาพรขอกล่าวโดยสรุปการเรียนร่วมหมายถึงการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลความบกพร่องทางด้านร่างกายอารมณ์สังคมและสติปัญญาตามรูปแบบของการเรียนร่วมทั้งการเรียนร่วมเต็มเวลาและเรียนร่วมบางเวลาโดยได้รับความช่วยเหลือตามความจำเป็นพิเศษเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสได้เรียนรู้ตามความสามารถและตามศักยภาพของตนเองสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

                  http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10. ได้รวบรวมไว้ว่า การศึกษาแบบเรียนรวมหมายถึงการรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็กหรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียนแต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการจำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือจะต้องถือหลักการดังนี้
• เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
• เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
• โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
• โรงเรียนจะต้องให้บริการสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่างๆทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
• โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

                   http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177. ได้กล่าวถึงการเรียนรู้แบบเรียนรวมไว้ดังนี้  การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ถือว่า เป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน ไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กทั่วไป หรือเด็กคนใดที่มีความต้องการพิเศษ โดยโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม ตามหลักการเรียนรวม เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะได้เรียนในโรงเรียนปกติใกล้บ้านโดยไม่มีการแบ่งแยก ได้เรียนในชั้นเดียวกับเพื่อนในวัยเดียวกันไม่มีห้องเรียนพิเศษการช่วยเหลือสนับสนุนอื่นๆ จะจัดอยู่ในสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนปกติ ทั้งนี้โรงเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบให้มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของเด็กแต่ละคน และ เด็กทุกคนมีฐานะเป็นสมาชิกหนึ่งของโรงเรียนมีสิทธิ มีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ซึ่ง เป้าประสงค์ของการเรียนรวม คือ การจัดโอกาสสำหรับนักเรียนทุกคนให้บรรลุขีดศักยภาพในการศึกษาทั่วไป เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีพในสังคมร่วมกันได้อย่างมีความสุขและยอมรับซึ่งกัน และการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็น การให้โอกาสเด็กพิการได้เรียนอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่กับเด็กทั่วไป ในสภาพห้องเรียนปกติ ซึ่งหากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีแล้ว เด็กพิการสามารถประสบความสำเร็จได้ การเรียนรวมทำให้เด็กพิการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กทั่วไปและรอดพ้นจากการถูกตีตราว่าเป็นเด็กพิการ ทำให้เด็กทั้งสองกลุ่มยอมรับซึ่งกันและกัน การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ให้โอกาสแก่คนพิการได้พัฒนาศักยภาพทุกด้านในระบบของโรงเรียนที่จัดให้

การเรียนรวมจึงมิใช่การศึกษาเฉพาะเด็กที่มีความต้องการพิเศษเท่านั้นหากแต่เป็นการศึกษาเพื่อเด็กทุกคน การจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการต่างๆจะเป็นการผสมผสานระหว่างหลักการทางการศึกษาพิเศษ และการศึกษาทั่วไปการเรียนรวมในประเทศไทย แม้ว่าจะได้ดำเนินการไป แต่ก็ยังมีปัญหาหลากหลายทั้งในการบริหารจัดการ การบริหารหลักสูตร การประเมินความต้องการพิเศษทางการศึกษาของเด็ก การจัดหาสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และการช่วยเหลือ และการช่วยเหลือเกื้อกูลอันจำเป็นที่จะทำให้การเรียนรวมดำเนินไปได้ การปรับวิธีสอน และการปรับวิธีการวัดผล เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียน อีกประการหนึ่งการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่ขาดประสิทธิภาพอาจเป็นผลเนื่องมาจากความเข้าใจผิด และกลไกที่เป็นปัญหาหลายประการที่มาจากทั้งปัจจัยภายในโรงเรียนเอง และปัจจัยภายนอกโรงเรียน เช่น ขาดบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าใจการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างแท้จริง ปัญหานานัปการเหล่านี้ ทำให้การเรียนรวมดำเนินไปในวงจำกัดและไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรแม้ว่า การจัดการศึกษาพิเศษให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งเป็นบุคคลส่วนน้อยของประเทศแต่ก็ เป็นการจัดการศึกษาที่ต้องลงทุนสูงทั้งด้านการเงิน เวลา ทรัพยากร ทุกด้าน หลายคนอาจมองว่าเป็นภาระของประเทศ แต่โดยสิทธิมนุษยชน เขาต้องได้รับการดูแลเพราะไม่ใช่ว่าเขาเลือกเกิด เองได้ รัฐ และนักการศึกษา ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนชุมชนในสังคม ต้องรับทราบปัญหาและให้โอกาสเขาได้เรียนรู้ตามศักยภาพที่มีอยู่ เพื่อสามารถพัฒนาตนเองได้ และไม่ให้เป็นภาระต่อส่วนรวมในสังคมต่อไป 

สรุป
                  การเรียนร่วมเป็นการจัดการศึกษาพิเศษรูปแบบหนึ่งที่จัดให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษและความต้องการช่วยเหลือที่แตกต่างไปจากเด็กปกติร่วมใช้ชีวิตกับเด็กปกติในระบบโรงเรียนเพื่อให้เขาพัฒนาได้เต็มศักยภาพสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้สามารถช่วยเหลือตนเองได้การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ถือว่า เป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน ไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กทั่วไป หรือเด็กคนใดที่มีความต้องการพิเศษ โดยโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม ตามหลักการเรียนรวม เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะได้เรียนในโรงเรียนปกติใกล้บ้านโดยไม่มีการแบ่งแยก ได้เรียนในชั้นเดียวกับเพื่อนในวัยเดียวกันไม่มีห้องเรียนพิเศษการช่วยเหลือสนับสนุนอื่นๆ จะจัดอยู่ในสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนปกติ ทั้งนี้โรงเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบให้มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของเด็กแต่ละคน และ เด็กทุกคนมีฐานะเป็นสมาชิกหนึ่งของโรงเรียนมีสิทธิ มีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ซึ่ง เป้าประสงค์ของการเรียนรวม

อ้างอิง
http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177ได้รวบรวมความหมายของการเรียนร่วม. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558
http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10ได้รวบรวมความหมายของการเรียนร่วม. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558
http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177ได้รวบรวมความหมายของการเรียนร่วม. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558

การประเมิน

                https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc. ได้รวบรวมความหมายของการประเมินไว้ว่าการประเมินเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดคือนำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผลโดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้เช่นโรงเรียนกำหนดคะแนนที่น่าพอใจของวิชาคณิตศาสตร์ไว้ที่ร้อยละ 60 นักเรียนที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ 60 % ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจหรืออาจจะกำหนดเกณฑ์ไว้หลายระดับเช่นได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 40  อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุงร้อยละ 40-59 อยู่ในเกณฑ์พอใช้ร้อยละ 60-79 อยู่ในเกณฑ์ดีและร้อยละ 80 ขึ้นไปอยู่ในเกณฑ์ดีมากเป็นต้นลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็นการประเมิน               
            การประเมินผลมีความหมายเช่นเดียวกับการประเมินแต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดผล
สำหรับภาษาอังกฤษมีหลายคำที่ใช้มากมี 2 คำคือevaluation  และassessment     2 คำนี้มีความหมายต่างกันคือevaluation  เป็นการประเมินตัดสินมีการกำหนดเกณฑ์ชัดเจน (absolute criteria) เช่นได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไปตัดสินว่าอยู่ในระดับดีได้คะแนนร้อยละ 60 – 79  ตัดสินว่าอยู่ในระดับพอใช้ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 60  ตัดสินว่าอยู่ในระดับควรปรับปรุงevaluation  จะใช้กับการประเมินการดำเนินงานทั่วๆไปเช่นการประเมินโครงการ (Project Evaluation) การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) assessment  เป็นการประเมินเชิงเปรียบเทียบใช้เกณฑ์เชิงสัมพันธ์ (relative criteria) เช่นเทียบกับผลการประเมินครั้งก่อนเทียบกับเพื่อนหรือกลุ่มใกล้เคียงกันassessment  มักใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการประเมินตนเอง  (Self Assessment)

                 http://darapornmulta.igetweb.com/articles/. ได้รวบรวมความหมายการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่า การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการคือ
การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน  ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน     ให้ประสบผลสำเร็จนั้น  ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้สะท้อนสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นเรียน  ระดับสถานศึกษา  ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการความก้าวหน้าและความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน  ตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ
                การวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบ่งออกเป็น๔ระดับได้แก่ระดับชั้นเรียนระดับสถานศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ  มีรายละเอียดดังนี้
๑.  การประเมินระดับชั้นเรียน  เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้  ผู้สอนดำเนินการเป็นปกติและสม่ำเสมอในการจัดการเรียนการสอนใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลายเช่นการซักถามการสังเกตการตรวจการบ้านการประเมินโครงงานการประเมินชิ้นงาน/ ภาระงาน  แฟ้มสะสมงานการใช้แบบทดสอบ  ฯลฯ  โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมินเองหรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองเพื่อนประเมินเพื่อนผู้ปกครองร่วมประเมินในกรณีที่ไม่ผ่านตัวชี้วัดให้มีการสอนซ่อมเสริมการประเมินระดับชั้นเรียนเป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้  อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่และมากน้อยเพียงใดมีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมในด้านใดนอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลให้ผู้สอนใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนด้วยทั้งนี้โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
๒.  การประเมินระดับสถานศึกษา  เป็นการประเมินที่สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตัดสินผล การเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาคผลการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  นอกจากนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่ผู้เรียนมีจุดพัฒนาในด้านใดรวมทั้งสามารถนำผลการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติผลการประเมินระดับสถานศึกษาจะเป็นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการปรับปรุงนโยบายหลักสูตรโครงการหรือวิธีการจัดการเรียนการสอน  ตลอดจนเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาและการรายงานผลการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครองและชุมชน
๓.  การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา   เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา   ตามภาระความรับผิดชอบสามารถดำเนินการโดยประเมินคุณภาพผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วยข้อสอบมาตรฐานที่จัดทำและดำเนินการโดยเขตพื้นที่การศึกษาหรือด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัดในการดำเนินการจัดสอบนอกจากนี้ยังได้จากการตรวจสอบทบทวนข้อมูลจากการประเมินระดับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
๔.  การประเมินระดับชาติ   เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๓  และชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖  เข้ารับการประเมินผลจากการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่างๆเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา  ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในระดับนโยบายของประเทศ
               ข้อมูลการประเมินในระดับต่างๆข้างต้นเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาในการตรวจสอบทบทวนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนถือเป็นภาระความรับผิดชอบของสถานศึกษาที่จะต้องจัดระบบดูแลช่วยเหลือปรับปรุงแก้ไขส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพบนพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคลที่จำแนกตามสภาพปัญหาและความต้องการได้แก่กลุ่มผู้เรียนทั่วไปกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ   กลุ่มผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาด้านวินัยและพฤติกรรม  กลุ่มผู้เรียนที่ปฏิเสธโรงเรียนกลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มพิการทางร่างกายและสติปัญญาเป็นต้นข้อมูลจากการประเมินจึงเป็นหัวใจของสถานศึกษาในการดำเนินการช่วยเหลือผู้เรียนได้ทันท่วงทีปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและประสบความสำเร็จในการเรียน
               สถานศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการศึกษา  จะต้องจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่เป็นข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกัน

                https://www.gotoknow.org/posts/181202. ได้รวบรวมความหมายของการประเมินผล(evaluation)  ไว้ว่าการประเมินผลหมายถึงกระบวนการที่กระทำต่อจากการวัดผลแล้ววินิจฉัยตัดสินลงสรุปคุณค่าที่ได้จากการวัดผลอย่างมีกฎเกณฑ์และมีคุณธรรมเพื่อพิจารณาตัดสินใจว่าสิ่งนั้นดีหรือเลวเก่งหรืออ่อนได้หรือตกเป็นต้น
ดังนั้นการวัดผลและการประเมินผลมีความสัมพันธ์กันกล่าวคือการวัดผลจะทำให้ได้ตัวเลขปริมาณหรือรายละเอียดของคุณลักษณะหรือพฤติกรรมของบุคคลจากนั้นจะนำเอาผลการวัดนี้ไปพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อตัดสินหรือลงสรุปเกี่ยวกับสิ่งนั้นซึ่งเรียกว่าการประเมินผล
           การวัดผลและประเมินผลการศึกษาเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนตลอดเวลาซึ่งจุดมุ่งหมายของการวัดผลและประเมินผลนั้นไม่ใช่เฉพาะการนำผลการวัดไปตัดสินได้-ตกหรือใครควรจะได้เกรดอะไรเท่านั้นแต่ควรนำผลการวัดและประเมินนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาในหลายๆลักษณะดังนี้
1. เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียนหมายถึงการวัดผลและประเมินผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดตอนใดแล้วครูพยายามสอนให้นักเรียนเกิดความรู้มีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของตนเองจุดมุ่งหมายข้อนี้สำคัญมากหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นปรัชญาการวัดผลการศึกษา (ชวาลแพรัตกุล. 2516 : 34)
2. เพื่อจัดตำแหน่ง (placement) การวัดผลและประเมินผลวิธีนี้เพื่อเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นๆโดยอาศัยกลุ่มเป็นเกณฑ์ว่าใครเด่น-ด้อยใครได้อันดับที่ 1 ใครสอบได้-ตกหรือใครควรได้เกรดอะไรเป็นต้นการวัดผลและประเมินผลวิธีนี้เหมาะสำหรับการตัดสินผลการเรียนแบบอิงกลุ่มและการคัดเลือกคนเข้าทำงาน
3. เพื่อวินิจฉัย (diagnostic) เป็นการวัดผลและประเมินผลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาความบกพร่องของผู้เรียนว่าวิชาที่เรียนนั้นมีจุดบกพร่องตอนใดเพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขซ่อมเสริมส่วนที่ขาดหายไปให้ดียิ่งขึ้นซึ่งในกระบวนการเรียนการสอนเรียกว่าการวัดผลย่อย (formative measurement)
4. เพื่อเปรียบเทียบ (assessment) เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบตนเองหรือเพื่อดูความงอกงามของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาที่ต่างกันว่าเจริญงอกงามเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมากน้อยเพียงใดเช่นการเปรียบเทียบผลก่อนเรียน(pre-test) และหลังเรียน (post-test)
 5. เพื่อพยากรณ์ (prediction) เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อทำนายอนาคตต่อไปว่าจะเป็นอย่างไรนั่นคือเมื่อเด็กคนหนึ่งสอบแล้วสามารถรู้อนาคตได้เลยว่าถ้าการเรียนของเด็กอยู่ในลักษณะนี้ต่อไปแล้วการเรียนจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ซึ่งสามารถนำไปใช้ในเรื่องของการแนะแนวการศึกษาว่านักเรียนควรเรียนสาขาใดหรืออาชีพใดจึงจะเรียนได้สำเร็จแบบทดสอบที่ใช้วัด  จุดมุ่งหมายในข้อนี้ได้แก่แบบทดสอบวัดความถนัด (aptitude test) แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญา (intelligence test) เป็นต้น
6.เพื่อประเมินผล(evaluation)เป็นการนำผลที่ได้จากการวัดไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อตัดสินลงสรุปให้คุณค่าของการศึกษาหลักสูตรหรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลว่าเหมาะสมหรือไม่และควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
 ประโยชน์ของการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
การวัดผลและประเมินผลการศึกษามีประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่งเพราะว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการตัดสินใจของครูผู้บริหารและนักการศึกษาซึ่งพอจะสรุปประโยชน์ในด้านต่างๆดังนี้ (อนันต์ศรีโสภา. 2522 : 1-2)
1. ประโยชน์ต่อครูช่วยให้ทราบเกี่ยวกับพฤติกรรมเบื้องต้นของนักเรียนครูก็จะรู้ว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานพร้อมที่จะเรียนในบทต่อไปหรือไม่ถ้าหากว่านักเรียนคนใดยังไม่พร้อมครูก็จะหาทางสอนซ่อมเสริมนอกจากนี้ยังช่วยให้ครูปรับปรุงเทคนิคการสอนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพอีกด้วย           
2. ประโยชน์ต่อนักเรียนช่วยให้นักเรียนรู้ว่าตัวเองเก่งหรืออ่อนวิชาใดเรื่องใดความสามารถของตนอยู่ในระดับใดเพื่อที่จะได้ปรับปรุงตนเองตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องทางการเรียนของตนให้ดียิ่งขึ้น
3. ประโยชน์ต่อการแนะแนวช่วยให้แนะแนวการเลือกวิชาเรียนการศึกษาต่อการเลือกประกอบอาชีพของนักเรียนให้สอดคล้องเหมาะสมกับความรู้ความสามารถและบุคลิกภาพตลอดจนช่วยให้สามารถแก้ปัญหาทางจิตวิทยาอารมณ์สังคมและบุคลิกภาพต่างๆของนักเรียน

สรุป
             การประเมินเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดคือนำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผลโดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้เช่นโรงเรียนกำหนดคะแนนที่น่าพอใจของวิชาคณิตศาสตร์ไว้ที่ร้อยละ 60 นักเรียนที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ 60 % ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจหรืออาจจะกำหนดเกณฑ์ไว้หลายระดับเช่นได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 40  อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุงร้อยละ 40-59 อยู่ในเกณฑ์พอใช้ร้อยละ 60-79 อยู่ในเกณฑ์ดีและร้อยละ 80 ขึ้นไปอยู่ในเกณฑ์ดีมากเป็นต้นลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็นการประเมิน               
            การประเมินผลมีความหมายเช่นเดียวกับการประเมินแต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดผล
สำหรับภาษาอังกฤษมีหลายคำที่ใช้มากมี 2 คำคือevaluation  และassessment     2 คำนี้มีความหมายต่างกันคือevaluation  เป็นการประเมินตัดสินมีการกำหนดเกณฑ์ชัดเจน (absolute criteria) เช่นได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไปตัดสินว่าอยู่ในระดับดีได้คะแนนร้อยละ 60 – 79  ตัดสินว่าอยู่ในระดับพอใช้ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 60  ตัดสินว่าอยู่ในระดับควรปรับปรุงevaluation  จะใช้กับการประเมินการดำเนินงานทั่วๆไปเช่นการประเมินโครงการ (Project Evaluation) การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) assessment  เป็นการประเมินเชิงเปรียบเทียบใช้เกณฑ์เชิงสัมพันธ์ (relative criteria) เช่นเทียบกับผลการประเมินครั้งก่อนเทียบกับเพื่อนหรือกลุ่มใกล้เคียงกันassessment  มักใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการประเมินตนเอง  (Self Assessment)

       
อ้างอิง
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc. ความหมายของการประเมิน. เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2558
http://darapornmulta.igetweb.com/articles/ความหมายของการประเมิน. เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2558
https://www.gotoknow.org/posts/181202.ความหมายของการประเมิน. เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2558

องค์ประกอบการเรียนรู้

                    http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html. ได้รวบรวมเกี่ยวกับองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ไว้ดังนี้
1. ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น
ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมน่าสนใจและมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระจะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียวควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่องเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
2. ผู้เรียนเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพสติปัญญาความถนัดความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกายผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิดร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอนและมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลายตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
3. เนื้อหาวิชาต่างๆซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กันมีความน่าสนใจเหมาะสมกับวัยระดับชั้นรวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ได้แก่อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการเช่นจัดห้องชวนคิดห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์จัดระบบนิเวศจำลองจัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยาธรณีวิทยาฯลฯมีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดีและจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย

                  http://kmlibrary.bu.ac.th/. ได้รวบรวมเกี่ยวกับองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ไว้ดังนี้
ในการจัดการความรู้โดยทั่วไปมีองค์ประกอบที่สำคัญ3ส่วนคือคน (man) เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology-IT) และกระบวนการจัดการความรู้ (process)
1. คน (man)
ในการจัดการความรู้คนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเนื่องจากคนเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ส่วนบุคคล (personal knowledge management-PKM) คือผู้ซึ่งต้องการจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์กับตัวเองจึงสามารถจัดการทุกอย่างทุกขึ้นตอนได้เองเป็นส่วนใหญ่อาจจะมีบ้างที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่น
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการความรู้หรือKM Team ขององค์กรอาจแบ่งได้เป็น2ทีมคือทีมหลักหรือทีมถาวร (core team or permanent team) และทีมชั่วคราว (contemporary team)
ทีมหลักหรือทีมถาวรเป็นคณะทำงานที่รับผิดชอบการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กรอย่างต่อเนื่องประกอบด้วยบุคลากร3ฝ่ายได้แก่หัวหน้างานหรือผู้จัดการความรู้ (knowledge champion or senior manager or chief knowledge management-CKO) เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรซึ่งมีบทบาทในการขุดหา (leverage) ความรู้ภายในองค์กรออกมาโดยการใช้โครงการการจัดการความรู้รับผิดชอบในการสร้างวิสัยทัศน์ในสิ่งที่เป็นไปได้ออกแบบกรอบงานที่ให้ผลคุ้มค่าและเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ประสานงานและการจัดให้มีกิจกรรมการจัดการความรู้ทั้งหมดขององค์กรบุคลากรประเภทที่สองได้แก่หัวหน้างาน (Chief Information Officer- CIO) เป็นผู้รับผิดชอบงานทั้งหมดขององค์กรและฝ่ายสุดท้ายของทีมหลักคือตัวแทนจากกลุ่มงานหลักขององค์กร
ส่วนทีมชั่วคราวเป็นคณะกรรมการที่มาจากกลุ่มเฉพาะ (Tiwanna, 2002, p.206) องค์กรต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ขององค์กรคือกลุ่มผู้ใช้ผลผลิตและบริการขององค์กรจึงควรให้บุคคลเหล่านั้นมาเป็นหุ้นส่วนและร่วมกันวางแผนงานให้กับองค์กร (Rumizen, 2002, p.67)
นอกจากทีมงานทั้งสองทีมแล้วบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโครงการจัดการความรู้ขององค์กรอย่างมากคือผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer-CEO) โดยปกติจะอยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาโครงการจัดการความรู้
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology-IT)
ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้นมีงานวิจัยเป็นจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ดังที่ปรากฎว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแม้ว่ากระบวนการจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่ไม่ใช้เทคโนโลยีแต่เทคโนโลยีก็เป็นที่ถูกคาดหมายว่าเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสพความสำเร็จองค์กรส่วนใหญ่จึงมีการจัดสรรงบประมาณในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ขององค์กร (สมชายนำประเสริฐกุล, 2546, p.105)
เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วยเทคโนโลยีในการสื่อสาร (Communication Technology), เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) และเทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage Technology)
-          เทคโนโลยีในการสื่อสารช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆได้ง่ายขึ้นสะดวกขึ้นรวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชียวชาญสาขาต่างๆในการค้นหาข้อมูลสารสนเทศผ่านเครือข่ายได้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตอินทราเน็ตหรือโซเชียลมีเดีย (Social Media
-          เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกันช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพลดอุปสรรคเรื่องของระยะทางตัวอย่างเช่นโปรแกรมกลุ่มgroupware หรือระบบvideo conference เป็นต้น
-          เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนช่วยประสานสนับสนุนและอำนวยความสะดวกกระบวนการจัดการความรู้ทั้ง3ดังนี้
-          การแสวงหาความรู้เป็นการแสวงหาความรู้ทั้งที่เป็นการหยั่งรู้เอง (Tacit Knowledge) ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผู้มีประสบการณ์สูงจะมองเห็นแนวโน้มหรือหรือทิศทางความต้องการใช้ความรู้ด้านต่างๆแล้ววางแผนและดำเนินการที่จะจัดหาความรู้นั้นๆมาโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆเป็นเครื่องช่วยประสานและอำนวยความสะดวก
-          การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้เป็นการเผยแพร่และกระจายความรู้ในเรื่องต่างๆในการนี้การเรียนรู้จากผู้เชียวชาญจะช่วยให้ผู้ดำเนินการจัดการความรู้มือใหม่ผ่านเครือข่ายการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ
-          การใช้ประโยชน์จากความรู้การเรียนรู้จะบูรณาการอยู่ในองค์กรมีอะไรอยู่ในองค์กรสมาชิกองค์กรสามารถรับรู้และประยุกต์ใช้สถานการณ์ใหม่ๆได้ตลอดเวลาทั้งการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้และการใช้ประโยชน์ความรู้จะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน
ทั้งการแสวงหาความรู้
อย่างไรก็ตามในความหมายของIT ไมได้หมายถึงเพียงแค่อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์เพียงเท่านั้นแต่ในปัจจุบันได้หมายรวมถึงความสำคัญของคนเป้าหมายที่คนวางหรือกำหนดในการใช้เทคโนโลยีนั้นๆคุณค่าในการเลือกใช้เทคโนโลยีตลอดจนเกณฑ์ในการประเมินที่ใช้ในการตัดสินใจในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในงานต่างๆ (Chartrand&Morentzอ้างถึงZorkoczy, 1984, p.12)
3. กระบวนการจัดการความรู้ (Process)
กระบวนการจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาของความรู้หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรมีทั้งหมด7ขั้นตอน
-          การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) เป็นการพิจารณาว่าองค์กรเรามีพันธกิจวิสัยทัศน์เป้าหมายอะไรและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเราต้องใช้อะไรขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในรูปแบบใดและอยู่ที่ใคร
-          การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation & Acquisition) เช่นการสร้างความรู้ใหม่แสวงหาความรู้จากภายนอกรักษาความรู้เก่ากำจัดความรู้ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว
-          การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) เป็นการวางโครงสร้างความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
-          การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification & Refinement) เช่นการปรับปรุงเอกสารให้เป็นรูปแบบมาตรฐานใช้ภาษาในการสื่อสารเป็นภาษาเดียวกันประปรุงเนื้อหาความรู้ให้สมบูรณ์
-          การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Dissemination & Access) เป็นการทำให้ผู้ใช้เข้าถึงความรู้อย่างเป็นระบบได้ง่ายและสะดวกขึ้นการกระจายความรู้ให้ผู้อื่นทางช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม
-          การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) เป็นการนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันด้วยกลยุทธ์ต่างๆเช่นในกรณีเป็นExplicit Knowledge อาจทำเป็นเอกสารฐานความรู้คลังความรู้หรือในกรณีเป็นTacit Knowledge อาจทำเป็นระบบทีมข้ามสายงานกิจกรรมกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้และระบบพี่เลี้ยงการสับเปลี่ยนงานการยืมตัวเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นต้น
-          การเรียนรู้และการนำไปใช้งาน (Learning & Utilization) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการการจัดการความรู้เป็นการที่บุคคลเกิดการเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงานและหมุนเวียนไปอย่างต่อเนื่อง
                   http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-1.html. ได้รวบรวมเกี่ยวกับองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ไว้ดังนี้การสอนเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดของการจัดการศึกษาเพราะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผลตามที่มุ่งหวังไว้คุณภาพของการศึกษาจะดีหรือไม่เพียงใดนั้นย่อมเป็นผลโดยตรงจากการสอนเป็นประการสำคัญดังนั้นในการสอนแต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาวิชาใดก็ตามควรจะมีองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนดังนี้
          1. จุดมุ่งหมายการสอนก่อนจะเริ่มต้นสอนครูผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรแล้วกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจนว่าหลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้วครูผู้สอนประสงค์จะให้นักเรียนเรียนรู้อะไรบ้างและมีความสามารถทำอะไรได้บ้างจุดมุ่งหมายในการสอนควรกำหนดให้อยู่ในรูปของจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม(Behavioral Objectives) ซึ่งสามารถสังเกตได้และวัดได้
          2. พฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียนก่อนที่ครูจะทำการสอนในเรื่องใดหากครูได้ทราบสภาพพื้นฐานของผู้เรียนก่อนก็จะทำให้สามารถจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่
          3. การเรียนการสอนเป็นขั้นตอนที่ครูจะทำการสอนในเนื้อหาวิชาจริงๆครูผู้สอนอาจเลือกใช้เทคนิควิธีสอนต่างๆให้เหมาะสมกับวัยและสภาพพื้นฐานของผู้เรียนโดยคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหาวิชาด้วยว่าจะแบ่งเนื้อหาวิชาเป็นหน่วยย่อยได้อย่างไรหน่วยย่อยใดควรสอนก่อนหรือหลังและเนื้อหาในแต่ละหน่วยย่อยนั้นจะใช้อุปกรณ์ชนิดใดเข้าช่วย
          4. การวัดและประเมินผลเป็นการตรวจสอบผลการเรียนการสอนเพื่อจะได้ทราบว่าภายหลังจากผ่านการเรียนการสอนแล้วผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ดีขึ้นเพียงไรอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจหรือไม่โดยเทียบกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนที่ครูกำหนดไว้ก่อน

สรุป
1. ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น
ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมน่าสนใจและมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระจะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียวควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่องเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
2. ผู้เรียนเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพสติปัญญาความถนัดความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกายผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิดร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอนและมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลายตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
3. เนื้อหาวิชาต่างๆซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กันมีความน่าสนใจเหมาะสมกับวัยระดับชั้นรวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ได้แก่อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


อ้างอิง
               http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html. ได้รวบรวมองค์ประกอบการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558
               http://kmlibrary.bu.ac.th/ได้รวบรวมองค์ประกอบการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558
               http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-1.htmlได้รวบรวมองค์ประกอบการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558