วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนร่วม

                    http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177. ได้รวบรวมความหมายของการเรียนร่วมไว้ว่าการเรียนร่วมเป็นการจัดการศึกษาพิเศษรูปแบบหนึ่งที่จัดให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษและความต้องการช่วยเหลือที่แตกต่างไปจากเด็กปกติร่วมใช้ชีวิตกับเด็กปกติในระบบโรงเรียนเพื่อให้เขาพัฒนาได้เต็มศักยภาพสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้สามารถช่วยเหลือตนเองได้นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของการเรียนร่วมไว้ดังต่อไปนี้
ผดุงอารยะวิญญู (2541:7) การเรียนร่วมหมายถึงการจัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนในโรงเรียนปกติอาจจัดได้หลายลักษณะเช่นการเรียนร่วมเต็มเวลาเรียนในห้องพิเศษห้องเสริมวิชาการซึ่งให้โอกาสเด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ผดุงอารยะวิญญู (2542:17) ได้กล่าวว่าการจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกตินั้นสามารถจัดการศึกษาได้หลายหลายรูปแบบคือ
1) การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติโดยอาจจัดให้อยู่ในชั้นปกติในบางเวลาเช่นวิชาดนตรีพลศึกษาหรือร่วมกิจกรรมลูกเสือ- เนตรนารีกีฬาสีเป็นต้นคาดหวังว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะมีโอกาสแสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
2) การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) การจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้มีโอกาสได้เรียนชั้นเดียวกับเด็กปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียนเด็กปกติได้รับบริการการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนอย่างไรเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ได้รับบริการเช่นเดียวกันเป้าหมายสำคัญของการเรียนร่วมเต็มเวลาคือเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกันตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติเด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่างท่ามกลางความแตกต่างกันมนุษย์เราต้องการความรักความสนใจความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
3) การเรียนร่วม(Inclusion) หรือการจัดการศึกษาโดยรวม(Inclusive Education) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาทีโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติหรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กและจะต้องจัดการศึกษาให้เขาอย่างเหมาะสมการเรียนร่วมยังหมายถึงการศึกษาที่ไม่แบ่งแยกระดับชั้นเช่นอนุบาลประถมศึกษามัธยมศึกษาอุดมศึกษาตลอดจนการดำรงชีพของคนในสังคมหลังจบการศึกษาจะต้องดำเนินไปในลักษณะร่วมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับเด็กปกติโดยไม่มีการแบ่งแยก
ศรียานิยมธรรม(2541:37) การเรียนร่วมหมายถึงการนำเอาคนพิการมาสู่สังคมปกติไม่ว่าจะในด้านนันทนาการหรือการศึกษาในสมัยก่อนคนพิการมักถูกซุกซ่อนหรือแยกไว้เฉพาะกลุ่มต่างหากแต่ในปัจจุบันจะเน้นที่การคัดแยกเพื่อช่วยเหลือคนพิการแต่เนิ่นๆโดยมีนักวิชาการในสาขาต่างๆเข้ามาช่วยเหลือและสามารถจัดให้เด็กแต่ละคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
ผดุงอารยะวิญญู(2541: 221) การเรียนร่วมเป็นวิธีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษซึ่งเมื่อก่อนเรียกว่าเด็กพิการโดยจัดเป็นกลุ่มตามสภาพความพิการของเด็กเช่นเด็ก
ตาบอดปัญญาอ่อนเป็นต้นและจัดตั้งโรงเรียนพิเศษสำหรับแต่ละประเภทโดยเฉพาะซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจึงมีวิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กพิการเสียใหม่เด็กพิการได้รับชื่อใหม่ว่าเป็น“เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” และเด็กเหล่านี้ได้รับการเข้าเรียนในชั้นเดียวกับเด็กปกติ
กระทรวงศึกษาธิการ(2543:1) การเรียนร่วมหมายถึงวิธีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติเพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ตามรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้นให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(2543:21) ได้กล่าวถึงการเรียนร่วมไว้ดังนี้
การเรียนร่วมเต็มเวลาหมายถึงการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้มีโอกาสเรียนในชั้นเรียนเดียวกันกับเด็กปกติทุกอย่างตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียนและได้รับบริการการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเช่นเดียวกับเด็กปกติ
การเรียนร่วมบางเวลาหมายถึงการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนในโรงเรียนเดียวกันกับเด็กปกติแต่เด็กเหล่านี้อาจให้อยู่รวมกันเป็นชั้นพิเศษในโรงเรียนปกติและในบางรายวิชาที่ไม่ใช่กลุ่มทักษะเด็กมีโอกาสได้เรียนร่วมกับเด็กปกติเช่นวิชาพลศึกษาวิชาดนตรีเป็นต้นหรือเด็กอาจมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนเช่นกิจกรรมลูกเสือ- เนตรนารีกีฬาสีงานแสดงต่างๆโดยคาดหวังว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะได้มีโอกาสแสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติ
การเรียนร่วมหมายถึงการที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้เด็กทุกๆคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนเรียนร่วมเต็มเวลาในห้องเรียนตลอดจนรับบริการเสริมที่เหมาะสมและจำเป็นและการใช้ชีวิตร่วมกันกับเด็กเด็กปกติในครอบครัวชุมชนและสังคม
ข้าพเจ้านางสาวกาญจนาพรขอกล่าวโดยสรุปการเรียนร่วมหมายถึงการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลความบกพร่องทางด้านร่างกายอารมณ์สังคมและสติปัญญาตามรูปแบบของการเรียนร่วมทั้งการเรียนร่วมเต็มเวลาและเรียนร่วมบางเวลาโดยได้รับความช่วยเหลือตามความจำเป็นพิเศษเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสได้เรียนรู้ตามความสามารถและตามศักยภาพของตนเองสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

                  http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10. ได้รวบรวมไว้ว่า การศึกษาแบบเรียนรวมหมายถึงการรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็กหรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียนแต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการจำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือจะต้องถือหลักการดังนี้
• เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
• เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
• โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
• โรงเรียนจะต้องให้บริการสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่างๆทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
• โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

                   http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177. ได้กล่าวถึงการเรียนรู้แบบเรียนรวมไว้ดังนี้  การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ถือว่า เป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน ไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กทั่วไป หรือเด็กคนใดที่มีความต้องการพิเศษ โดยโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม ตามหลักการเรียนรวม เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะได้เรียนในโรงเรียนปกติใกล้บ้านโดยไม่มีการแบ่งแยก ได้เรียนในชั้นเดียวกับเพื่อนในวัยเดียวกันไม่มีห้องเรียนพิเศษการช่วยเหลือสนับสนุนอื่นๆ จะจัดอยู่ในสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนปกติ ทั้งนี้โรงเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบให้มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของเด็กแต่ละคน และ เด็กทุกคนมีฐานะเป็นสมาชิกหนึ่งของโรงเรียนมีสิทธิ มีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ซึ่ง เป้าประสงค์ของการเรียนรวม คือ การจัดโอกาสสำหรับนักเรียนทุกคนให้บรรลุขีดศักยภาพในการศึกษาทั่วไป เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีพในสังคมร่วมกันได้อย่างมีความสุขและยอมรับซึ่งกัน และการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็น การให้โอกาสเด็กพิการได้เรียนอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่กับเด็กทั่วไป ในสภาพห้องเรียนปกติ ซึ่งหากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีแล้ว เด็กพิการสามารถประสบความสำเร็จได้ การเรียนรวมทำให้เด็กพิการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กทั่วไปและรอดพ้นจากการถูกตีตราว่าเป็นเด็กพิการ ทำให้เด็กทั้งสองกลุ่มยอมรับซึ่งกันและกัน การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ให้โอกาสแก่คนพิการได้พัฒนาศักยภาพทุกด้านในระบบของโรงเรียนที่จัดให้

การเรียนรวมจึงมิใช่การศึกษาเฉพาะเด็กที่มีความต้องการพิเศษเท่านั้นหากแต่เป็นการศึกษาเพื่อเด็กทุกคน การจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการต่างๆจะเป็นการผสมผสานระหว่างหลักการทางการศึกษาพิเศษ และการศึกษาทั่วไปการเรียนรวมในประเทศไทย แม้ว่าจะได้ดำเนินการไป แต่ก็ยังมีปัญหาหลากหลายทั้งในการบริหารจัดการ การบริหารหลักสูตร การประเมินความต้องการพิเศษทางการศึกษาของเด็ก การจัดหาสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และการช่วยเหลือ และการช่วยเหลือเกื้อกูลอันจำเป็นที่จะทำให้การเรียนรวมดำเนินไปได้ การปรับวิธีสอน และการปรับวิธีการวัดผล เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียน อีกประการหนึ่งการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่ขาดประสิทธิภาพอาจเป็นผลเนื่องมาจากความเข้าใจผิด และกลไกที่เป็นปัญหาหลายประการที่มาจากทั้งปัจจัยภายในโรงเรียนเอง และปัจจัยภายนอกโรงเรียน เช่น ขาดบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าใจการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างแท้จริง ปัญหานานัปการเหล่านี้ ทำให้การเรียนรวมดำเนินไปในวงจำกัดและไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรแม้ว่า การจัดการศึกษาพิเศษให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งเป็นบุคคลส่วนน้อยของประเทศแต่ก็ เป็นการจัดการศึกษาที่ต้องลงทุนสูงทั้งด้านการเงิน เวลา ทรัพยากร ทุกด้าน หลายคนอาจมองว่าเป็นภาระของประเทศ แต่โดยสิทธิมนุษยชน เขาต้องได้รับการดูแลเพราะไม่ใช่ว่าเขาเลือกเกิด เองได้ รัฐ และนักการศึกษา ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนชุมชนในสังคม ต้องรับทราบปัญหาและให้โอกาสเขาได้เรียนรู้ตามศักยภาพที่มีอยู่ เพื่อสามารถพัฒนาตนเองได้ และไม่ให้เป็นภาระต่อส่วนรวมในสังคมต่อไป 

สรุป
                  การเรียนร่วมเป็นการจัดการศึกษาพิเศษรูปแบบหนึ่งที่จัดให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษและความต้องการช่วยเหลือที่แตกต่างไปจากเด็กปกติร่วมใช้ชีวิตกับเด็กปกติในระบบโรงเรียนเพื่อให้เขาพัฒนาได้เต็มศักยภาพสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้สามารถช่วยเหลือตนเองได้การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ถือว่า เป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน ไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กทั่วไป หรือเด็กคนใดที่มีความต้องการพิเศษ โดยโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม ตามหลักการเรียนรวม เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะได้เรียนในโรงเรียนปกติใกล้บ้านโดยไม่มีการแบ่งแยก ได้เรียนในชั้นเดียวกับเพื่อนในวัยเดียวกันไม่มีห้องเรียนพิเศษการช่วยเหลือสนับสนุนอื่นๆ จะจัดอยู่ในสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนปกติ ทั้งนี้โรงเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบให้มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของเด็กแต่ละคน และ เด็กทุกคนมีฐานะเป็นสมาชิกหนึ่งของโรงเรียนมีสิทธิ มีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ซึ่ง เป้าประสงค์ของการเรียนรวม

อ้างอิง
http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177ได้รวบรวมความหมายของการเรียนร่วม. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558
http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10ได้รวบรวมความหมายของการเรียนร่วม. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558
http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177ได้รวบรวมความหมายของการเรียนร่วม. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น