วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

การประเมิน

                https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc. ได้รวบรวมความหมายของการประเมินไว้ว่าการประเมินเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดคือนำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผลโดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้เช่นโรงเรียนกำหนดคะแนนที่น่าพอใจของวิชาคณิตศาสตร์ไว้ที่ร้อยละ 60 นักเรียนที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ 60 % ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจหรืออาจจะกำหนดเกณฑ์ไว้หลายระดับเช่นได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 40  อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุงร้อยละ 40-59 อยู่ในเกณฑ์พอใช้ร้อยละ 60-79 อยู่ในเกณฑ์ดีและร้อยละ 80 ขึ้นไปอยู่ในเกณฑ์ดีมากเป็นต้นลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็นการประเมิน               
            การประเมินผลมีความหมายเช่นเดียวกับการประเมินแต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดผล
สำหรับภาษาอังกฤษมีหลายคำที่ใช้มากมี 2 คำคือevaluation  และassessment     2 คำนี้มีความหมายต่างกันคือevaluation  เป็นการประเมินตัดสินมีการกำหนดเกณฑ์ชัดเจน (absolute criteria) เช่นได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไปตัดสินว่าอยู่ในระดับดีได้คะแนนร้อยละ 60 – 79  ตัดสินว่าอยู่ในระดับพอใช้ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 60  ตัดสินว่าอยู่ในระดับควรปรับปรุงevaluation  จะใช้กับการประเมินการดำเนินงานทั่วๆไปเช่นการประเมินโครงการ (Project Evaluation) การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) assessment  เป็นการประเมินเชิงเปรียบเทียบใช้เกณฑ์เชิงสัมพันธ์ (relative criteria) เช่นเทียบกับผลการประเมินครั้งก่อนเทียบกับเพื่อนหรือกลุ่มใกล้เคียงกันassessment  มักใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการประเมินตนเอง  (Self Assessment)

                 http://darapornmulta.igetweb.com/articles/. ได้รวบรวมความหมายการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่า การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการคือ
การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน  ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน     ให้ประสบผลสำเร็จนั้น  ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้สะท้อนสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นเรียน  ระดับสถานศึกษา  ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการความก้าวหน้าและความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน  ตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ
                การวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบ่งออกเป็น๔ระดับได้แก่ระดับชั้นเรียนระดับสถานศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ  มีรายละเอียดดังนี้
๑.  การประเมินระดับชั้นเรียน  เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้  ผู้สอนดำเนินการเป็นปกติและสม่ำเสมอในการจัดการเรียนการสอนใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลายเช่นการซักถามการสังเกตการตรวจการบ้านการประเมินโครงงานการประเมินชิ้นงาน/ ภาระงาน  แฟ้มสะสมงานการใช้แบบทดสอบ  ฯลฯ  โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมินเองหรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองเพื่อนประเมินเพื่อนผู้ปกครองร่วมประเมินในกรณีที่ไม่ผ่านตัวชี้วัดให้มีการสอนซ่อมเสริมการประเมินระดับชั้นเรียนเป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้  อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่และมากน้อยเพียงใดมีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมในด้านใดนอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลให้ผู้สอนใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนด้วยทั้งนี้โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
๒.  การประเมินระดับสถานศึกษา  เป็นการประเมินที่สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตัดสินผล การเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาคผลการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  นอกจากนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่ผู้เรียนมีจุดพัฒนาในด้านใดรวมทั้งสามารถนำผลการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติผลการประเมินระดับสถานศึกษาจะเป็นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการปรับปรุงนโยบายหลักสูตรโครงการหรือวิธีการจัดการเรียนการสอน  ตลอดจนเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาและการรายงานผลการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครองและชุมชน
๓.  การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา   เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา   ตามภาระความรับผิดชอบสามารถดำเนินการโดยประเมินคุณภาพผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วยข้อสอบมาตรฐานที่จัดทำและดำเนินการโดยเขตพื้นที่การศึกษาหรือด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัดในการดำเนินการจัดสอบนอกจากนี้ยังได้จากการตรวจสอบทบทวนข้อมูลจากการประเมินระดับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
๔.  การประเมินระดับชาติ   เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๓  และชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖  เข้ารับการประเมินผลจากการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่างๆเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา  ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในระดับนโยบายของประเทศ
               ข้อมูลการประเมินในระดับต่างๆข้างต้นเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาในการตรวจสอบทบทวนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนถือเป็นภาระความรับผิดชอบของสถานศึกษาที่จะต้องจัดระบบดูแลช่วยเหลือปรับปรุงแก้ไขส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพบนพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคลที่จำแนกตามสภาพปัญหาและความต้องการได้แก่กลุ่มผู้เรียนทั่วไปกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ   กลุ่มผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาด้านวินัยและพฤติกรรม  กลุ่มผู้เรียนที่ปฏิเสธโรงเรียนกลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มพิการทางร่างกายและสติปัญญาเป็นต้นข้อมูลจากการประเมินจึงเป็นหัวใจของสถานศึกษาในการดำเนินการช่วยเหลือผู้เรียนได้ทันท่วงทีปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและประสบความสำเร็จในการเรียน
               สถานศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการศึกษา  จะต้องจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่เป็นข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกัน

                https://www.gotoknow.org/posts/181202. ได้รวบรวมความหมายของการประเมินผล(evaluation)  ไว้ว่าการประเมินผลหมายถึงกระบวนการที่กระทำต่อจากการวัดผลแล้ววินิจฉัยตัดสินลงสรุปคุณค่าที่ได้จากการวัดผลอย่างมีกฎเกณฑ์และมีคุณธรรมเพื่อพิจารณาตัดสินใจว่าสิ่งนั้นดีหรือเลวเก่งหรืออ่อนได้หรือตกเป็นต้น
ดังนั้นการวัดผลและการประเมินผลมีความสัมพันธ์กันกล่าวคือการวัดผลจะทำให้ได้ตัวเลขปริมาณหรือรายละเอียดของคุณลักษณะหรือพฤติกรรมของบุคคลจากนั้นจะนำเอาผลการวัดนี้ไปพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อตัดสินหรือลงสรุปเกี่ยวกับสิ่งนั้นซึ่งเรียกว่าการประเมินผล
           การวัดผลและประเมินผลการศึกษาเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนตลอดเวลาซึ่งจุดมุ่งหมายของการวัดผลและประเมินผลนั้นไม่ใช่เฉพาะการนำผลการวัดไปตัดสินได้-ตกหรือใครควรจะได้เกรดอะไรเท่านั้นแต่ควรนำผลการวัดและประเมินนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาในหลายๆลักษณะดังนี้
1. เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียนหมายถึงการวัดผลและประเมินผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดตอนใดแล้วครูพยายามสอนให้นักเรียนเกิดความรู้มีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของตนเองจุดมุ่งหมายข้อนี้สำคัญมากหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นปรัชญาการวัดผลการศึกษา (ชวาลแพรัตกุล. 2516 : 34)
2. เพื่อจัดตำแหน่ง (placement) การวัดผลและประเมินผลวิธีนี้เพื่อเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นๆโดยอาศัยกลุ่มเป็นเกณฑ์ว่าใครเด่น-ด้อยใครได้อันดับที่ 1 ใครสอบได้-ตกหรือใครควรได้เกรดอะไรเป็นต้นการวัดผลและประเมินผลวิธีนี้เหมาะสำหรับการตัดสินผลการเรียนแบบอิงกลุ่มและการคัดเลือกคนเข้าทำงาน
3. เพื่อวินิจฉัย (diagnostic) เป็นการวัดผลและประเมินผลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาความบกพร่องของผู้เรียนว่าวิชาที่เรียนนั้นมีจุดบกพร่องตอนใดเพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขซ่อมเสริมส่วนที่ขาดหายไปให้ดียิ่งขึ้นซึ่งในกระบวนการเรียนการสอนเรียกว่าการวัดผลย่อย (formative measurement)
4. เพื่อเปรียบเทียบ (assessment) เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบตนเองหรือเพื่อดูความงอกงามของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาที่ต่างกันว่าเจริญงอกงามเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมากน้อยเพียงใดเช่นการเปรียบเทียบผลก่อนเรียน(pre-test) และหลังเรียน (post-test)
 5. เพื่อพยากรณ์ (prediction) เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อทำนายอนาคตต่อไปว่าจะเป็นอย่างไรนั่นคือเมื่อเด็กคนหนึ่งสอบแล้วสามารถรู้อนาคตได้เลยว่าถ้าการเรียนของเด็กอยู่ในลักษณะนี้ต่อไปแล้วการเรียนจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ซึ่งสามารถนำไปใช้ในเรื่องของการแนะแนวการศึกษาว่านักเรียนควรเรียนสาขาใดหรืออาชีพใดจึงจะเรียนได้สำเร็จแบบทดสอบที่ใช้วัด  จุดมุ่งหมายในข้อนี้ได้แก่แบบทดสอบวัดความถนัด (aptitude test) แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญา (intelligence test) เป็นต้น
6.เพื่อประเมินผล(evaluation)เป็นการนำผลที่ได้จากการวัดไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อตัดสินลงสรุปให้คุณค่าของการศึกษาหลักสูตรหรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลว่าเหมาะสมหรือไม่และควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
 ประโยชน์ของการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
การวัดผลและประเมินผลการศึกษามีประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่งเพราะว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการตัดสินใจของครูผู้บริหารและนักการศึกษาซึ่งพอจะสรุปประโยชน์ในด้านต่างๆดังนี้ (อนันต์ศรีโสภา. 2522 : 1-2)
1. ประโยชน์ต่อครูช่วยให้ทราบเกี่ยวกับพฤติกรรมเบื้องต้นของนักเรียนครูก็จะรู้ว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานพร้อมที่จะเรียนในบทต่อไปหรือไม่ถ้าหากว่านักเรียนคนใดยังไม่พร้อมครูก็จะหาทางสอนซ่อมเสริมนอกจากนี้ยังช่วยให้ครูปรับปรุงเทคนิคการสอนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพอีกด้วย           
2. ประโยชน์ต่อนักเรียนช่วยให้นักเรียนรู้ว่าตัวเองเก่งหรืออ่อนวิชาใดเรื่องใดความสามารถของตนอยู่ในระดับใดเพื่อที่จะได้ปรับปรุงตนเองตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องทางการเรียนของตนให้ดียิ่งขึ้น
3. ประโยชน์ต่อการแนะแนวช่วยให้แนะแนวการเลือกวิชาเรียนการศึกษาต่อการเลือกประกอบอาชีพของนักเรียนให้สอดคล้องเหมาะสมกับความรู้ความสามารถและบุคลิกภาพตลอดจนช่วยให้สามารถแก้ปัญหาทางจิตวิทยาอารมณ์สังคมและบุคลิกภาพต่างๆของนักเรียน

สรุป
             การประเมินเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดคือนำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผลโดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้เช่นโรงเรียนกำหนดคะแนนที่น่าพอใจของวิชาคณิตศาสตร์ไว้ที่ร้อยละ 60 นักเรียนที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ 60 % ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจหรืออาจจะกำหนดเกณฑ์ไว้หลายระดับเช่นได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 40  อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุงร้อยละ 40-59 อยู่ในเกณฑ์พอใช้ร้อยละ 60-79 อยู่ในเกณฑ์ดีและร้อยละ 80 ขึ้นไปอยู่ในเกณฑ์ดีมากเป็นต้นลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็นการประเมิน               
            การประเมินผลมีความหมายเช่นเดียวกับการประเมินแต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดผล
สำหรับภาษาอังกฤษมีหลายคำที่ใช้มากมี 2 คำคือevaluation  และassessment     2 คำนี้มีความหมายต่างกันคือevaluation  เป็นการประเมินตัดสินมีการกำหนดเกณฑ์ชัดเจน (absolute criteria) เช่นได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไปตัดสินว่าอยู่ในระดับดีได้คะแนนร้อยละ 60 – 79  ตัดสินว่าอยู่ในระดับพอใช้ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 60  ตัดสินว่าอยู่ในระดับควรปรับปรุงevaluation  จะใช้กับการประเมินการดำเนินงานทั่วๆไปเช่นการประเมินโครงการ (Project Evaluation) การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) assessment  เป็นการประเมินเชิงเปรียบเทียบใช้เกณฑ์เชิงสัมพันธ์ (relative criteria) เช่นเทียบกับผลการประเมินครั้งก่อนเทียบกับเพื่อนหรือกลุ่มใกล้เคียงกันassessment  มักใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการประเมินตนเอง  (Self Assessment)

       
อ้างอิง
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc. ความหมายของการประเมิน. เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2558
http://darapornmulta.igetweb.com/articles/ความหมายของการประเมิน. เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2558
https://www.gotoknow.org/posts/181202.ความหมายของการประเมิน. เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2558

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น